พม. เดินหน้าสร้างความเข้าใจ “ธนาคารเวลา” สู่การเป็นอาสารูปแบบใหม่ New Volunteerในรูปแบบออนไลน์

พม. เดินหน้าสร้างความเข้าใจ “ธนาคารเวลา”
สู่การเป็นอาสารูปแบบใหม่ New Volunteerในรูปแบบออนไลน์

ในวันที่ 29 กันยายน 2564 นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เป็นประธานเปิดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าใจ “ธนาคารเวลา” สู่การเป็นอาสารูปแบบใหม่ New Volunteer"ในรูปแบบออนไลน์ โดยมี นางสาวอาภา รัตนพิทักษ์
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ เป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับธนาคารเวลาในวันนี้ จะทำให้ทราบถึงความเป็นมาและการดำเนินการเกี่ยวกับธนาคารเวลาในประเทศไทย ตลอดจนความแตกต่างของอาสารูปแบบใหม่ New Volunteerและนโยบาย ความร่วมมือของภาครัฐในการส่งเสริมการดำเนินงาน และการพัฒนาธนาคารเวลาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในบริบทของสังคมไทย

นางสุจิตรา กล่าวว่า กรมกิจการผู้สูงอายุ(ผส.) เป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)มีภารกิจหลักเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ การจัดสวัสดิการ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ มุ่งเป้าไปสู่การดูแลกลุ่มผู้สูงอายุเป็นเป้าหมายสำคัญ พัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมของทุกกลุ่มวัยเพื่อเตรียมการรองรับเมื่อต้องเผชิญกับภาวะสังคมสูงอายุ จึงได้นำแนวคิด “ธนาคารเวลา” มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงบริการ
ส่งเสริมให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลซึ่งกันและกัน โดยเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กำหนดให้ธนาคารเวลาเป็น 1 ใน 10 ประเด็นเร่งด่วนด้านผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงอายุที่มีเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุไทยเป็น Active Ageing : Healthy, Security and Participationและเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 กรมกิจการผู้สูงอายุ
ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่อง การดำเนินงานธนาคารเวลาของประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เป็นพื้นที่นำร่อง จำนวน 42 พื้นที่ ในการสนับสนุน ส่งเสริมและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาการดำเนินงานธนาคารเวลาในพื้นที่ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลสัมฤทธิ์จับต้องได้และในปัจจุบัน ผส. ได้ขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง
76 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 114 พื้นที่แล้ว

นางสุจิตรา กล่าวต่ออีกว่า หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า “ธนาคารเวลา” เป็นอย่างไร ดังนั้นการเสวนาในวันนี้ จะทำให้ทราบถึงความเป็นมาและการดำเนินการเกี่ยวกับธนาคารเวลาในประเทศไทยความแตกต่างของอาสารูปแบบใหม่ New Volunteer และนโยบายความร่วมมือของภาครัฐในการส่งเสริมการดำเนินงาน ตลอดจนการพัฒนาธนาคารเวลาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในบริบทของสังคมไทย นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงการดำเนินงานธนาคารเวลาในพื้นที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีการนำโครงการธนาคารเวลาฯ ส่งเสริมการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุและสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมการดำเนินงานธนาคารเวลาให้กับสมาชิกธนา
คารเวลาในพื้นที่ เทศบาลตำบลช่องลม อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชรโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลกและองค์การบริหารส่วนตำบลสายลำโพง จังหวัดนครวรรค์ได้ เห็นถึงศักยภาพของจิตอาสาธนาคารเวลาอย่างชัดเจนมากขึ้น

“เราจะได้เห็นสังคมที่กลับมาเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะในบ้านใกล้เรือนเคียง ชุมชน จะมาดูแลช่วยเหลือกัน ตรงนี้ยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ต่างวัย ภาครัฐก็ประหยัดงบประมาณ เพราะจิตอาสาไปช่วยเหลือแทนรัฐและจะเป็นโมเดลให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงการเตรียมตัวเวลาไปเห็นผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ผู้สูงอายุที่ยากจน ก็จะเริ่มคิดและหาทางป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดปัญหาอย่างนั้นเสมือนสอนตัวเองไปในตัว” นางสุจิตรากล่าวในตอนท้าย